วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3




💥💥เเบบฝึกหัดทบทวน💥💥

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
💦ตอบ   ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้แก่ คณะราษฎร์ เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข   เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475 ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
           ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อยู่ในหมวดที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามมาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. เเนวนโบายเเห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
💦ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่ หมวดที่ 3 หมวดที่ 4 และหมวดที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้
         หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
         มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
          หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
          มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
          หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
          มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
          มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควรมาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย 
💦ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาลโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
💦ตอบ   มีความแตกต่างกันตรงที่ประเด็นที่ 1 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมายนัก ส่วนในประเด็นที่ 2 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอนมีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
💦ตอบ  มีความเหมือนกันตรงที่รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐย่อมได้รับการคุ้มครอง

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
💦ตอบ  รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียม โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะหรือความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ

 7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
💦ตอบ  เพื่อต้องการให้บุคคลมีความเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาพึงได้รับประโยชน์และสิทธิเช่นเดียวกัน เพื่อให้บุคคลเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยการได้รับความรู้และการส่งเสริมอย่างทั่วถึง เมื่อมีการกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมและขาดการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม เเละถ้าเปิดโกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
💦ตอบ   รัฐธรรมนูญฉบับที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ได้แก่  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550) และหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง เนื่องจากในการจัดการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสังคมหรือบริบทของท้องถิ่นนั้นๆด้วยหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จะทำให้เข้าใจถึงบริบทของท้องถิ่นนั้นๆมากขึ้นเช่นเดียวกัน และยังสามารถทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น ตลอดจนการบูรณาการ การให้ความช่วยเหลือทางด้านต่างๆจากท้องถิ่นก็ย่อมมีมากขึ้นด้วย และจะทำให้การศึกษาและท้องถิ่นนั้นๆสามารถพัฒนาไปได้พร้อมๆกันจากความร่วมมือ การพึ่งพาอาศัยและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

9. เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย
💦ตอบ  เพราะรัฐต้องการให้เด็กและเยาวชนไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามพึงได้รับความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา อีกทั้งพึงต้องการให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้รับความสุข สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและปกติสุข สามารถเติบโตด้วยความพร้อมที่เต็มไปด้วยความบริบูรณ์ในด้านต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือที่เท่าเทียมตลอดจนการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปด้วยความรู้ ความสามารถและคุณธรรม

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
💦ตอบ  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้เกิดนโยบายเรียนฟรี 15 ปีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน มีการมอบทุนการศึกษา และการให้การศึกษาแก่ผู้พิการ ทำให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถลดความเลื่อมล้ำในด้านการศึกษาในประเทศได้ในระดับหนึ่ง  เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพการศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรมโดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ  ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น  ซึ่งส่งผลให้เยาวชนมีความรู้ ความสามารถ ได้รับการส่งเสริมที่ทั่วถึง ทำให้เยาวชนเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและมีความสามารถในการแข่งในเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งไปกว่าเดิม จากที่เห็นได้ชัดจากผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆของเด็กไทยที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและการร่วมมือจากภาครัฐและทุกภาคส่วน ส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสในการแข่งขันในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทำให้ศึกษาของไทยมีระบบ มีความคล่องตัว มีความสามารถในการแข่งขันในระดับต่างๆและในเวทีโลกมากขึ้น อีกทั้งยังลดความเลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาได้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2



💥ตอบคำถามท้ายบทที่ 1💥

👉ข้อที่ 1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
          กฎหมายคือ คำสั่งหรือ ข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์  จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ  เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ หรือกล่าวได้ว่า กฎหมายคือ ข้อกำหนดที่คนทุกคนในสังคมต้องปฏบัติไปในทิศทางเดียวกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามข้อบังคับ บุคคลผู้นั้นจะต้องได้รับโทษ แต่หากมนุษย์ไร้ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในการอยู่ร่วมกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ประเทศหรือสังคมนั้นจะเกิดความวุ่นวาย ไม่มีความสงบเกิดขึ้นในประเทศ ผู้คนต่างเห็นแก่ตัว เห็นประโยชน์ของตนเป็นหลัก เกิดการกบฏ ก่อการร้าย เพราะผู้คนไม่มีสิ่งที่พึงกระทำที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

👉ข้อที่ 2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
          สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่มีความทันสมัย มีเทคโนโลยีต่างๆเข้ามามากมาย ต่างจากในสมัยก่อนหน้านี้ สังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้เลยหากไม่มีกฎหมายไว้คอยกำหนดทิศทาง ซึ่งสังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น และมีการทุจริตเยอะขึ้น ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการทะเลาะวิวาท ลองคิดว่าถ้าสังคมปัจจุบันไม่มีกฎหมาย สังคมคงจะเกิดความวุ่นวาย ไร้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีความเคารพให้กันและกัน ต่างฝ่ายก็พยายามที่จะเอาชนะให้ได้

👉ข้อที่ 3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
          ก. ความหมาย
              กฎหมายคือ คำสั่งหรือ ข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์  จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ  เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
          ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
              ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ประการ คือ
                  1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
                   2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                   3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                   4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
          ค. ที่มาของกฎหมาย
              ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
                   1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
                   2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                   3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                   4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                   5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
           ง. ประเภทของกฎหมาย
              การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
                   1. กฎหมายภายใน
                      1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                           1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                           1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
                       1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                           1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                           1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
                        1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                           1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                           1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
                        1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                           1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                           1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
                   2. กฎหมายภายนอก
                       2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
                       2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
                       2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

👉ข้อที่ 4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
          ที่ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายก็เพื่อใช้เป็นข้อบังคับ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากสังคมที่คนทุกคนยอมรับร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อกำหนดการปฏิบัติตนให้เหมือนๆกัน เพื่อทำให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นไปในทางที่ดี ไม่เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย โดยปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากความความเห็นแก่ตัว คิดแต่ที่จะเอาชนะ และตนได้เป็นใหญ่ รัฐจึงสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้นเป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคม รวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

👉ข้อที่ 5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
          เพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ (Sanction) ของกฎหมาย สภาพบังคับของกฎหมาย คือ หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมาย หรือกติกา ผู้นั้นจะต้องรับโทษต่างๆในกฎหมาย

👉ข้อที่ 6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
          สภาพบังคับทางอาญา ได้กำหนดวิธีการบังคับไว้ตามสภาพแห่งความผิดและกำหนดโทษแต่ละอย่างไว้ชัดแจ้งตามกฎหมายเฉพาะอย่าง ที่วางไว้ อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติอื่น มีการกำหนดโทษคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน นอกจากนี้ หากเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จะมีสภาพบังคับที่แตกต่างออกไปได้แก่ การส่งตัวเด็กไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรมหรือสถานกักและอบรม เป็นต้น
          สภาพบังคับในทางแพ่ง กฎหมายก็กำหนดไว้เช่นกันได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ การบังคับชำระหนี้  การริบมัดจำ การเรียกเบี้ยปรับ การใช้ค่าเสียหายและการยึดทรัพย์ เป็นต้น

👉ข้อที่ 7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
          ระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
                1. ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 
                2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

👉ข้อที่ 8. ประเภทของกฎหมายมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
          ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                   1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                   2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
             1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                 1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                 1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย      ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
             2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                 2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                 2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
             3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                 3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
                 3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง
    
👉ข้อที่ 9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
          ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้
             1. รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้  โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย  ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง  สิทธิเสรีภาพของประชาชน
             2. พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
             3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
             4. พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
             5. กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
             6. ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น
             7. ประกาศคำสั่ง  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น
ที่มา: http://www.thailaws.com/aboutthailaw/thai_04.htm


👉ข้อที่ 10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
          ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าทางฝ่ายรัฐบาลกระทำความผิด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ยึดการปกครองแบบประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมืองผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ดังนั้นแล้ว ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะแสดงสิทธิเสรีภาพของตนเอง แต่จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่กำหนดไว้ และหากประชานชนไม่ได้กระทำการใดๆที่ผิดต่อกฎหมาย รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิที่จะทำร้ายร่างกายประชาชน

👉ข้อที่ 11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
          กฎหมายการศึกษา คือ กฎหมายที่มีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎ หรือคำสั่ง หรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ และกฎหมายการศึกษา ได้กำหนดเพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามนำไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและ ประเทศชาติ

👉ข้อที่ 12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร

          ในฐานะที่เรียนวิชานี้ หากไม่ได้ศึกษากฎหมายการศึกษาอาจจะมีผลกระทบในหลายๆด้าน เช่น หากกระทำการที่ไม่เหมาะสม ไม่รู้ถึงแนวทางข้อปฏิบัติหรือข้อละเว้นในการเป็นข้าราชการครู หากไม่รู้กฎเกณฑ์หรือแนวทางการปฏิบัติอาจส่งผลกระทบต่อตัวเอง บุคคลรอบข้าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถึงขั้นต้องออกจากการเป็นข้าราชการ เพราะอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอน และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกรอบแนวทาง การปฏิบัติ และข้อบังคับเพื่อให้บุคลากรทางการศึกษายึดปฏิบัติให้เป็นในทิศทางเดียวกัน และการดำเนินงานต่างๆของบุคคลากรทางการศึกษาเป็นไปอย่างราบรื่น และมีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1




👩ประวัติส่วนตัว👩


ชื่อ : นางสาว ออรยา   พนาลี
ชื่อเล่น : ปาล์ม
เกิดวันที่ : 9 มีนาคม พ.ศ.2539
สัญชาติ : ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ
ภูมิลำเนา : 17 หมู่ที่ 8  ตำบลหัวตะพาน   อำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความสามารถพิเศษ : ทำอาหาร
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด 
งานอดิเรก : ชอบทำอาหารให้คนอื่นรับประทาน และชอบฟังเพลง

💪การศึกษา
          ☺จบชั้นอนุบาลจากที่โรงเรียนบ้านทุ่งชน
          ☺จบชั้นประถมศึกษา จากที่โรงเรียนบ้านทุ่งชน
          ☺จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากที่โรงเรียนบ้านทุ่งชน

          ☺จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากที่โรงเรียนพรมคีรีพิทยาคม
          💙ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์  สาขาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
           
💟ทำไมถึงอยากเป็นครู

          อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องเสียสละทั้งแรงกายและแรงใจ เปรียบเสมือนแม่พิมพ์ที่คอยสั่งคอยสอนให้นักเรียนมีทางเดินที่ถูกที่ควร คอยดูพัฒนาการของเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆเจริญเติบโตไปในทางที่ดี


😊สิ่งที่อยากทำในอนาคต
          อยากรับราชการครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่ขาดแคลน คอยอบรมสั่งสอนเด็กและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักเรียน

💦อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง💦
          ครูเปรียบเสมือนเรือที่คอยรับและส่งให้เด็กๆถึงฝั่งที่ตั้งไว้ การเป็นครูที่ดีไม่ใช่เพียงมอบความรู้ให้แก่เด็กๆ แต่ต้องเป็นครูที่มีความเข้าใจในตัวเด็กๆของแต่ละคน มองเห็นสิ่งที่เด็กๆมี และสามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้ คอยมอบความรู้และทักษะที่จำเป็นต่างๆให้แก่เด็กๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

💚เป้าหมายของตนเอง💛
          เป้าหมายและสิ่งที่คาดหวัง คือการได้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่สามารถดูแลครอบครัวอย่างไม่ขาดตกบกพร่องโดยที่ลูกคนหนึ่งจะสามารถดูแลพ่อแม่ได้ และสามารถเป็นครูที่ดีให้แก่นักเรียน สามารถสั่งสอน อบรมศิษย์ให้ถึงฝั่งและสามารถมีอนาคตที่ดีได้

อนุทินที่ 3

💥💥เเบบฝึกหัดทบทวน💥💥 1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย...